หน้าหลัก กลุ่มนครนายก
[รุ่น 1]
การอบรมสัมนา ข่าวสารประชาสัมพันธ์ คลังความรู้ ประชาสัมพันธ์จังหวัด เวบบอร์ดข่าวสาร ติดต่อสอบถาม

 

      เรื่อง : คำสอน'เศรษฐกิจพอเพียง' ตรรกะที่คนไทยเข้าใจ

      ผู้ส่งข่าว : ร.ต.ชัชวาลย์ สุขสุทธิ

      ประชาสัมพันธ์ เมื่อ : 20171010 เวลา : 09:14:32      มีผู้อ่านข่าวประชาสัมพันธ์นี้แล้ว   341   ครั้ง


      รายละเอียด : “พอเพียงนี้อาจจะมีมาก…อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น…

ต้องให้พอประมาณตามอัตถภาพ…พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฎิบัติตนก็พอเพียง”

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2541

หนึ่งในพระราชดำรัส เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ทรงสอนประชาชนคนไทยอยู่เสมอ เพื่อให้ทำความเข้าใจความหมายอย่างแท้จริงของคำๆ นี้

ตามข้อเท็จจริงแล้ว หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ได้พระราชทานให้กับคนไทยมาตั้งแต่ปี 2517 และได้ถูกพูดถึงอย่างชัดเจนเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงิน ในช่วงที่ประเทศไทยต้องเจอกับ “วิกฤติต้มยำกุ้ง” เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


แต่!!! คนไทยทั้งประเทศล่ะ…เข้าใจความหมาย เข้าใจตรรกะที่แท้จริงของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” มากน้อยเพียงใด?

ที่สำคัญ… มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ที่เราๆ ท่านๆ จะดำรงชีวิตแบบพอเพียง เพราะเชื่อได้ว่า ณ เวลานี้ ใครต่อใครหลายๆ คน ต่างซึมซับ ต่างน้อมนำพระราชดำรัสในเรื่องนี้ใส่เกล้า แล้วนำไปปฎิบัติเพื่อเป็นแสงสว่างในการนำทางชีวิตของตัวเอง

แล้ว…ก็มีใครต่อใครอีกหลายคนเช่นกัน ที่อาจไม่มองไม่เห็นตรรกะของความหมายของคำๆ นี้ จนทำให้การดำเนินชีวิตของตัวเองนั้น “ล้มเหลว” จนต้องจมอยู่ในความทุกข์อันแสนสาหัส ด้วยการไม่ประมาณตน

ณ เวลานี้ ต้องยอมรับว่าเรื่องราวของ “เศรษฐกิจพอเพียง” นั้นต่างเป็นที่ยอมรับในสากล จนองค์กรสำคัญๆ ในโลกต่างเทิดพระเกียรติ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” พ่อหลวง ของประชาชนคนไทยทั้งประเทศให้เป็น “กษัตริย์นักพัฒนาอย่างยั่งยืน"


 

 

 

 

 

มีผู้อ่านข่าวสารของกลุ่มแล้วจำนวน       ราย