หน้าหลัก กลุ่มนครนายก
[รุ่น 1]
การอบรมสัมนา ข่าวสารประชาสัมพันธ์ คลังความรู้ ประชาสัมพันธ์จังหวัด เวบบอร์ดข่าวสาร ติดต่อสอบถาม

 

      เรื่อง : ปิดจ้อบ ! ต่ออายุแรงงานประมง ม.83 ยอด 6,082 คน

      ผู้ส่งข่าว : นายไชยยันต์ พงศะบุตร

      ประชาสัมพันธ์ เมื่อ : 20181002 เวลา : 7:09:15      มีผู้อ่านข่าวประชาสัมพันธ์นี้แล้ว   353   ครั้ง


      รายละเอียด : ปิดจ้อบ ! ต่ออายุแรงงานประมง ม.83 ยอด 6,082 คน

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน เผยยอดต่ออายุแรงงานต่างด้าวประมงทะเล ม.83 มีจำนวน 6,082 คน พบสัญชาติกัมพูชามากสุด 4,565 คน ขณะที่นายจ้างแจ้งขอนำเข้าแรงงงานแล้ว 13,949 คน ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้วจำนวน 1,656 คน

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงทะเล โดยได้เปิดต่ออายุแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมาตรา 83 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วออกไปอีกเป็นเวลา 2 ปี ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 ซึ่งจะอนุญาตให้คราวละ 1 ปี ตามที่แรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม - 30 กันยายน 2561 ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) สำนักงานจัดหางานจังหวัด 22 จังหวัดติดชายทะเล หรือสถานที่ที่เหมาะสมในแต่ละจังหวัดนั้น ปรากฏว่า มีแรงงานต่างด้าวมายื่นขอขยายระยะเวลาการทำงานจำนวนทั้งสิ้น 6,082 คน คิดเป็นร้อยละ 55.29 เป็นกัมพูชามากที่สุดจำนวน 4,565 คน รองลงมาเป็นเมียนมา 1,397 คน และลาว 120 คน โดยจังหวัดที่มีผลการดำเนินการมากที่สุด 5 อันดับคือ
1. ระยอง
2. ตราด
3. ชลบุรี
4. ปัตตานี
5. สงขลา

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงงานประมงโดยการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามระบบ MOU เป้าหมาย 42,000 คน ซึ่งขณะนี้มีนายจ้างยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานแล้ว 13,949 คน และได้ดำเนินการจัดส่งคำขออนุญาตนำเข้าแรงงานไปสถานทูตทั้ง 3 ประเทศแล้ว 9,099 คน เป็นกัมพูชา 4,588 คน เมียนมา 4,159 คน ลาว 352 คน โดยได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) แล้วจำนวน 1,656 คน

รมว.แรงงาน กล่าวต่อว่า สำหรับแรงงานประมงตามมาตรา 83 ที่ไม่ได้ต่ออายุการทำงานในครั้งนี้พบว่า บางส่วนเปลี่ยนสถานะเป็น MOU แล้ว และบางส่วนเดินทางกลับประเทศ อย่างไรก็ตาม คาดว่าในเดือนพฤศจิกายนนี้จะสามารถนำเข้าแรงงานประมงได้ทันต่อความต้องการ ทั้งนี้ ขอย้ำว่า แรงงานต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องเข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีใบอนุญาตทำงาน หากฝ่าฝืนทำงานมีความผิดในข้อหา ‘ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน’ ต้องระวางโทษปรับ 5,000-50,000 บาท ตรวจพบจับปรับแล้วส่งกลับประเทศทันที ส่วนนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย มีความผิดในข้อหา ‘รับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน’ ต้องระวางโทษปรับ 10,000-100,000 บาท ต่อแรงงานต่างด้าว 1 คน และหากทำผิดซ้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 50,000-200,000 บาท ต่อแรงงานต่างด้าว 1 คน และห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี

ขอขอบคุณ แหล่งข่าว. คุณณัชชาฯ จัดหางานจังหวัดนครนายก
ขอขอบคุณ. แหล่งภาพ. ประชาชาติ. , ผู้จัดการ.

 

 

 

 

 

มีผู้อ่านข่าวสารของกลุ่มแล้วจำนวน       ราย