สำนักงาน ก.พ. เปิดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ประจำปี 2561
คุณสมบัติผู้สมัครสอบ ก.พ.
สำนักงาน ก.พ. จะรับสมัครสอบ จำนวน 4 ระดับ ได้แก่
1.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
2.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
3.ระดับปริญญาตรี (ป.ตรี)
4.ระดับปริญญาโท (ป.โท)
รับผู้ที่จบการศึกษาแล้ว รวมถึงผู้ที่กำลังเรียนอยู่เทอมสุดท้ายด้วย
(ยังไม่รับ วุฒิ ม.6)
สถานที่สอบ ก.พ.
13 ศูนย์สอบ ก.พ. ทั่วประเทศ
(จังหวัดที่ใช้เป็นสถานที่สอบ)
1. กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 100,000 ที่นั่งสอบ
2. พระนครศรีอยุธยา 20,000 ที่นั่งสอบ
3. ราชบุรี 23,000 ที่นั่งสอบ
4. ฉะเชิงเทรา 20,000 ที่นั่งสอบ
5. ชลบุรี 30,000 ที่นั่งสอบ
6. เชียงใหม่ 30,000 ที่นั่งสอบ
7. พิษณุโลก 37,000 ที่นั่งสอบ
8. นครราชสีมา 30,000 ที่นั่งสอบ
9. อุดรธานี 30,000 ที่นั่งสอบ
10. อุบลราชธานี 30,000 ที่นั่งสอบ
11. ขอนแก่น 30,000 ที่นั่งสอบ
12. สุราษฎร์ธานี 30,000 ที่นั่งสอบ
13. สงขลา 40,000 ที่นั่งสอบ
รวม 13 ศูนย์สอบ 450,000 ที่นั่งสอบ
ก.พ. สอบ 3 วิชา
1. สอบวิชาความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ความสามารถทางด้านการคิดคำนวณ ทดสอบความสามารถในการประยุกต์ใช้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของจำนวนหรือปริมาณ การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และข้อมูลต่างๆ ความสามารถทางด้านเหตุผล ทดสอบความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความ หรือรูปภาพ การหาข้อยุติ หรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ สถานการณ์หรือแบบจำลองต่างๆ
การทดสอบวิชาความสามารถทั่วไป จะประกอบด้วย
1. อนุกรม 5 ข้อ
2. โจทย์คณิตศาสตร์ 4 ข้อ
3. โอเปอเรชั่น 1 ข้อ
4. ตาราง 5 ข้อ
5. สดมภ์ 5 ข้อ
6. อุปมา – อุปมัย 5 ข้อ
7. การสรุปความจากเงื่อนสัญลักษณ์ 5 ข้อ
8. การสรุปความจากเงื่อนไขภาษา 5 ข้อ
9. การสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ 5 ข้อ
รวม 40 ข้อ
2. สอบวิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
ความเข้าใจภาษา ทดสอบความสามารถในการอ่านและการทำความเข้าใจกับบทความ หรือข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความ หรือข้อความ ทั้งนี้ รวมไปถึงการสรุปความ และตีความด้วย การใช้ภาษา ทดสอบความสามารถในการเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษาและการเรียงข้อความ
การทดสอบวิชาภาษาไทย จะประกอบด้วย
1. เรียงข้อความ 5 ข้อ
2. หลักภาษา 5 ข้อ
3. ตีความ สรุปความ (บทความสั้น / บทความยาว) 10 ข้อ
รวม 20 ข้อ
เกณฑ์การผ่าน
ระดับ ปวช – ปวส – ป. ตรี
ได้วิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย 60% = สอบผ่าน 36 ข้อ
ระดับ ป.โท
ได้วิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย 65% = สอบผ่าน 39 ข้อ
3. สอบความสามารถทางด้านภาษา (คะแนน 50 คะแนน)
ความเข้าใจภาษา จะวัดความสามารถในด้านความเข้าใจภาษาโดยสามารถสรุปความในรูปแบบต่าง ๆ จากข้อความสั้น ๆ หรือบทความได้ แนวคำถามการวัดความเข้าใจภาษาที่เป็นข้อความสั้น ๆ การใช้ภาษา จะวัดความสามารถในด้านการใช้ภาษา โดยสามารถพิจารณาใช้ภาษาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ คำหรือกลุ่มคำ ประโยค หรือข้อความสั้น ๆ รวมทั้งสามารถเรียงลำดับข้อความได้ถูกต้อง
การทดสอบความสามารถทางด้านภาษา
1. Conversation 5 ข้อ
2. Grammar 5 ข้อ
3. Vocab 5 ข้อ
4. Reading 10 ข้อ
(บทความสั้น บทความยาว) 10 ข้อ
รวม 25 ข้อ
เกณฑ์การผ่าน
ระดับ ปวช – ปวส – ป. ตรี และ ป.โท
ได้วิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย 50% = สอบผ่าน 13 ข้อ
รายละเอียดการประกาศสอบ ก.พ.
ไฟล์ประกาศสอบ ก.พ. 2561
วิธีการสมัครสอบ ก.พ.
สมัครทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น (ไม่ใช่เอกสาร เพียงแค่กรอกข้อมูล)
สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 9 – 29 มีนาคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
สมัครได้ทางเว็บไซต์ https://ocsc2.job.thai.com
ชำระเงินค่าสมัครสอบได้ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2561 ผ่านธนาคารกรุงไทย
การสอบ ก.พ. คืออะไร?
ก.พ. อ่านว่า กอ-พอ เป็นการสอบเพื่อเป็นข้าราชการพลเรือน (ข้าราชการอื่น ที่ไม่ใช่ทหาร ตำรวจ)
ไม่ต้องสอบพละ วิ่ง ว่ายน้ำ
สายตาสั้น ยาว เอียงได้ ไม่มีการตรวจสายตา
ไม่จำกัดน้ำหนัก และส่วนสูง
บรรจุเป็นข้าราชการ มีสวัสดิการ งานมั่นคง
ไม่จำกัดเพศ และอายุ
สอบ ก.พ. ภาค ก ผ่านครั้งเดียว เก็บไว้ใช้ได้ตลอดชีวิต
อีกหนึ่งเส้นทางของผู้ที่อยากเป็นข้าราชการ ให้ที่บ้านภาคภูมิใจ