เรื่อง : ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชน ในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม - ที่อยู่อาศัย ป้องกันถูกเอาเปรียบอื่นๆ

      ผู้ส่งข่าว : นายไชยยันต์ พงศะบุตร

      ประชาสัมพันธ์ เมื่อ : 20181021 เวลา : 9:34:25      มีผู้อ่านข่าวประชาสัมพันธ์นี้แล้ว   341   ครั้ง




      รายละเอียด :

ครม.เห็นชอบร่างกม.คุ้มครองประชาชนขายฝากที่ดิน ป้องกันนายทุนฮุบที่ทำกิน

ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชน ในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม - ที่อยู่อาศัย ป้องกันถูกเอาเปรียบอื่นๆ

ครม.เห็นชอบร่างกม.คุ้มครองประชาชนขายฝากที่ดิน ป้องกันนายทุนฮุบที่ทำกิน
เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2561 เวลา 19:00 น.
ครม.เห็นชอบร่างกม.คุ้มครองประชาชนขายฝากที่ดิน ป้องกันนายทุนฮุบที่ทำกิน

  1. ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชน ในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม -ที่อยู่อาศัย ป้องกันถูกเอาเปรียบ
    นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัญมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. ….
    พร้อมทั้งรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
    สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองประชาชนจากสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยที่ไม่เป็นธรรม โดยกำหนดบทนิยามเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น
  2. กำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อฝากและผู้ขายฝากกำหนดหน้าที่และอำนาจของเจ้าพนักงานที่ดินและกำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยซึ่งได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    1. กำหนดบทนิยามของคำว่า "ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม" "ที่อยู่อาศัย" และ "รัฐมนตรี" เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น

    2. กำหนดให้การขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยต้องใช้หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัตินี้ และเป็นธุรกิจที่ต้องควบคุมสัญญาตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ กำหนดให้การทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย จะต้องได้รับการตรวจสอบ เนื้อหาของสัญญาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและหากมีข้อตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับขายฝากในภายหลัง ต้องได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะมีผลใช้บังคับ

    3. กำหนดให้การทำสัญญาขายฝากที่ดิน เพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย จะกำหนดระยะเวลาไถ่ที่ดินต่ำกว่าหนึ่งปีมิได้ โดยการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจะต้องไม่กระทบสิทธิของผู้ขายฝากที่ จะไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากก่อนครบกำหนดระยะเวลาไถ่

    4. กำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อฝากและผู้ขายฝาก ได้แก่ กำหนดให้ผู้ซื้อฝากมีหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือ ไปยังผู้ขายฝากเพื่อให้ผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนดระยะเวลา และกำหนดอัตราค่าสินไถ่ให้ชัดเจน หากไม่ได้กำหนดให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก, กำหนดให้ผู้ซื้อฝากสามารถเรียก หรือรับประโยชน์ตอบแทนได้กรณีที่ได้กำหนดสินไถ่เท่ากับ หรือต่ำกว่าราคาขายฝากและผู้ขายฝากยังคงเป็นผู้ใช้ทรัพย์สินที่ขายฝาก, กำหนดให้ทรัพย์สินซึ่งขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ได้ชำระสินไถ่และหากผู้ซื้อฝากบอกปัดหรือหลีกเลี่ยง หรือมีเหตุขัดข้องไม่อาจรับไถ่ได้ ให้ผู้ขายฝากวางสินไถ่ไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์, กำหนดให้ผู้ซื้อเดิม หรือทายาทของผู้ซื้อเดิม ผู้รับโอนทรัพย์สินหรือรับโอนสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น ใช้สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก, กำหนดเงื่อนไขมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินเมื่อพ้นระยะเวลาตามที่กำหนด รวมทั้งกำหนดค่าใช้จ่ายที่ผู้ขายฝากจะต้องชำระให้แก่ผู้ซื้อฝากเมื่อครบระยะเวลาไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากตามสัญญาและให้ผู้ซื้อฝากในการส่งมอบทรัพย์สินที่ขายฝาก กำหนดสิทธิของผู้ขายฝากในการได้รับทรัพย์สินที่ไถ่คืนไปโดยปลอดจากสิทธิใด ๆ ที่ผู้ซื้อฝากได้ก่อไว้

    5. กำหนดให้เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่และอำนาจดังนี้ ตรวจสอบเนื้อหาของสัญญาและเอกสารหลักฐานให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นธรรม ตามที่กฎหมายกำหนด, ชี้แจงรายละเอียดของสัญญา สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา ข้อปฏิบัติและข้อควรระวังให้คู่สัญญาทราบโดยละเอียด, ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและกำหนดให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามีอำนาจเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาให้ข้อมูล หรือให้จัดส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้

    6. กำหนดให้การชำระเงินตามสัญญาขายฝาก ต้องกระทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยให้เจ้าพนักงานที่ดิน ตรวจสอบจำนวนเงินและเงื่อนไขในสัญญาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการรับเงินไว้เป็นสำคัญ หากมีกรณีที่ผู้ซื้อฝากชำระเงิน ให้แก่ผู้ขายฝากไม่ครบตามราคาขายฝากที่กำหนดไว้ให้ถือว่าจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากได้รับไปจริงเป็นราคาขายฝาก

    7. eำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากที่ดิน เพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยซึ่งได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ขอขอบคุณ ภาพ ข่าว : Post Today , Workpoint news

 

 

 


มีผู้อ่านข่าวแล้วจำนวน       ราย