เรื่อง : นครนายก - น้อมสำนึก " วันพระบิดาแห่งฝนหลวง "

      ผู้ส่งข่าว : นายไชยยันต์ พงศะบุตร

      ประชาสัมพันธ์ เมื่อ : 20181115 เวลา : 7:09:02      มีผู้อ่านข่าวประชาสัมพันธ์นี้แล้ว   375   ครั้ง




      รายละเอียด :


--------------------------------------------------------------------
นครนายก - น้อมสำนึก " วันพระบิดาแห่งฝนหลวง "
---------------------------------------------------------------------




            เมื่อเวลา 09.00 น. (14 พ.ย.2561) ณ ห้องประชุมสุพรรณิการ์ อาคารศูนย์อาหารปลอดภัยและนันทนาการบริการประชาชน ศาลากลางจังหวัดนครนายก ต .ท่าช้าง อ.เมือง จ.นครนายก  นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เป็นประธานในพิธีพร้อมด้วยอัยการ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน พนักงานรัฐวิสาหกิจ. สถาบันการศึกษา สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เหล่ากาชาด อาสาสมัคร ลูกจ้าง ทุกภาคส่วน และประชาชน ล้วนมีจิตใจตั้งมั่นแสดงออกถึงความจงรักภักดี น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เนื่องในวันบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี ๒๕๖๑




              เมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัส ที่จะคิดค้นวิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยาก ของเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ที่ประสบภัยแล้ง รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรน้ำของประเทศ จนเกิดเป็นโครงการพระราชดำริฝนหลวงขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นฝน จนเกิดเป็นเทคโนโลยี ฝนหลวง ที่ขจัดปัดเป่าความทุกข์ยาก ให้แก่มวลพสกนิกรของพระองค์ที่ประสบภัยแล้งและเป็นองค์ประกอบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศสืบมา จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืช กรมการข้าว เพื่อให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ และพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริง ในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ - ๒ กรกฏาคม ๒๕๑๒ เลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่ เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก

             ต่อมาได้มีการทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆ สูงไม่เกิน 1 ฟุต ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดจนเกิดการกลั่น รวมตัวกันหนาแน่น และต่อยอดสูงขึ้น เป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลารวดเร็ว จากการติดตามผลโดยสำรวจทางพื้นดิน ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่าเกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยาน เขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึงเป็นนิมิตหมายที่ดีที่บ่งชี้ให้เห็นว่าการบังคับให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และความสำเร็จดังกล่าวยังส่งผลให้มีการพัฒนาปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวง มาจนถึงปัจจุบัน ...







อำพล เทียนงาม ภาพ /ข่าวนครนายก

 

 

 

 


มีผู้อ่านข่าวแล้วจำนวน       ราย