"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ"ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก"แล้ว
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ"ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก"แล้ว
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นอักษรพระปรมาภิไธย "วปร." ประดับเพชร ตามความหมายพระนาม "มหาวชิราลงกรณ" แวดล้อมด้วยเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ประกอบพระบรมราช
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรุงแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ด้วยพระองค์เอง และพระราชทานแบบตราสัญลักษณ์พร้อมความหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่งานพระราชพิธีฯ ในการนี้ รัฐบาลขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเครื่องสักการะ และขอเชิญชวนประดับตราสัญลักษณ์ ตามอาคารสถานที่ และบ้านเรือนเพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยพร้อมเพรียงกัน
สำหรับหลักเกณฑ์การเชิญตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ไปประดิษฐานหรือประดับในสิ่งของต่าง ๆ มีดังนี้
1.ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องงานพระราชพิธีฯ ประดับบนผืนธง ประดับบน ซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ประดับบนป้ายเฉลิมพระเกียรติ ประดับบนโต๊ะหมู่บูชา ประดับตามอาคารสถานที่ บ้านเรือน และสถานที่ราชการ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและแสดงความจงรักภักดีในโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่งในครั้งนี้ โดยประดับในห้วงเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563
2. ใช้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นการเชิญตราสัญลักษณ์ฯ มาประดิษฐานเป็นการถาวร ได้แก่ อาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ ประดับบนสิ่งของเช่น เสื้อ และหมวก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติ
ทั้งนี้สิ่งที่ไม่อนุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ไปใช้ประดับ เช่น แก้วน้ำ ขวดแก้ว จาน ชาม ช้อน แจกัน เหยือกน้ำ (เนื่องจากเป็นของแตกสลายได้) กำไล จี้ กล่องบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ยกเว้นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการจัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสำหรับหน่วยงานของรัฐ องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ สมาคม ชมรม หรือ บริษัท/ห้าง/ร้านที่มีความประสงค์จะเชิญตราสัญลักษณ์ไปประดับหรือประดิษฐาน ให้มีหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมแบบคำขอใช้ตราสัญลักษณ์ ไปที่ คณะอนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทร. 02-283-4228-9 โทรสาร 02-283-4248-9 ระหว่างวันที่ 13มีนาคม 2562 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (
www.opm.go.th)
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแบบเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็นแบบตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคำว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562" ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการจัดทำเข็มที่ระลึกฯ เพื่อจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนได้อัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขึ้นแบบเข็มที่ระลึก ทั้งนี้ รายได้จากการจำหน่ายเข็มที่ระลึกฯ ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล ตามพระราชอัธยาศัย
ในส่วนของเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำเสื้อต้นแบบ คาดว่าจะสามารถจำหน่ายได้พร้อมกับเข็มที่ระลึกฯ ในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้ โดยในวันที่ 31 มีนาคม จะเปิดจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปเป็นปฐมฤกษ์ จำนวนอย่างละ 20,000 ณ อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ประกอบด้วยอักษรพระปรมาภิไธย วปร อยู่ตรงกลาง ฟื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง อันเป็นสีของวันจันทร์ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ ภายในอักษรประดับเพชร ตามความหมายแห่งพระนามมหาวซิราลงกรณอักษร วปร อยู่บนพื้นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) อันเป็นสีของขัตติยกษัตริย์
ภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์สีทองสอดสีเขียว อันเป็นสีซึ่งเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ กรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลม อันเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ แวดล้อมด้วยเครื่องเบญจราชกกุรภัณฑ์ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช
ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎพร้อมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจำรัชกาล อยู่เบื้องบนพระแสงขรรค์ชัยศรีกับพระแสจามรี ทอดไขว้อยู่เบื้องขวา ธารพระกรกับพัดวาลวิชนี ทอดไขว้อยู่เบื้องซ้ายและฉลองพระบาทเชิงงอน อยู่เบื้องล่าง
พระมหาพิชัยมงกฎ หมายถึง ทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาทน พระแสงชรรค์ชัยศรีหมายถึงทรงรับพระราชภาระปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากภยันตราย ธารพระกรหมายถึงทรงดำรงราชธรรมเพื่อค้ำจุนบ้านเมืองให้ผาสุกมั่นคง พระแส้จามรีกับพัดวาลวิชนีหมายถึงทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ ฉลองพระบาทเชิงงอนหมายถึงทรงทำนุบำรุงปวงประชาทั่วรัฐสีมาอาณาจักร
เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานพระมหาเศวตฉัตรอันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์อันวิเศษสุด ระบายชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง แสดงถึงพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปกแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ เบื้องล่างกรอบอักษรพระปรมาภิไธยมีแถบแพรพื้นสีเขียว ถนิมทอง ขอบขลิบทอง มีอักษรสีทองความว่า"พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒" ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคซสีห์กายม่วงอ่อนประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึงข้าราชคารฝ่ายทหาร เบื้องซ้ายมีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร ๗ ชั้นหมายถึงข้าราชคารฝายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดินอยู่ด้วยกัน ข้างคันฉัตรด้านในทั้งสองข้างมีดอกลอยกนกนาค แสดงถึงปีมะโรงนักษัตรอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ สีทองหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน