น้ำสรงมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษก จาก 117 แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วไทย สู่พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.10
การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 3-5 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ พระราชพิธีจะเป็นไปตามโบราณราชประเพณี ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ พิธีเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย โดยพิธีเบื้องต้นกำลังจะเริ่มขึ้นในวันที่ 6 เมษายนนี้ นั่นก็คือ พิธีการจัดทำน้ำอภิเษกและน้ำสรงมุรธาภิเษก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็คือ ขั้นตอนที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสรงมุรธาภิเษก (การสรงน้ำเหนือพระเศียร) ในวันพระฤกษ์บรมราชาภิเษก เพื่อทรงประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ ซึ่งการสรงน้ำมุรธาภิเษกนั้นถือว่าเป็นวินาทีที่เปลี่ยนพระราชสถานะสู่ความเป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ
แต่เดิมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อนหน้านี้ใช้แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จำนวนไม่มากแหล่งนัก หลัก ๆ คือ น้ำจาก 4 สระเมืองสุพรรณที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และน้ำเบญจสุทธคงคา ซึ่งประกอบด้วย แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำเพชรบุรี และน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศประมาณ 10-20 แหล่ง
สำหรับการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เป็นครั้งแรกที่มีการใช้น้ำจากทั่วประเทศทั้ง 77 จังหวัด รวม 117 แหล่งน้ำ เพื่อแสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศในพิธีมหามงคลของแผ่นดินในครั้งนี้ โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำน้ำอภิเษก
น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่จะใช้ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ 1.น้ำสรงมุรธาภิเษก คือ น้ำที่สรงตั้งแต่พระเศียรลงมาทั่วทั้งพระวรกาย 2.น้ำอภิเษก สรงเฉพาะพระวรกาย ซึ่งน้ำทั้ง 2 อย่างที่จะใช้ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้มีแหล่งที่มาต่างกัน
แหล่งที่มาน้ำสรงมุรธาภิเษก
น้ำสรงมุรธาภิเษกยึดตามโบราณราชประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ มาจาก 9 แหล่งน้ำ คือ
- น้ำจากสระ 4 สระเมืองสุพรรณ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย
- สระเกษ
- สระแก้ว
- สระคา
- สระยมนา และ
- น้ำเบญจสุทธคงคา หรือแม่น้ำบริสุทธิ์ทั้ง 5 สาย ประกอบด้วย
- แม่น้ำบางปะกง ตักที่ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
- แม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
- แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
- แม่น้ำราชบุรี ตักที่บริเวณสามแยกคลองหน้าวัดดาวดึงส์ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
- แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่บริเวณท่าน้ำวัดไชยศิริ ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดนครนายก เป็นจังหวัดที่มี 3 แหล่งน้ำ ได้แก่
- เขื่อนขุนด่านปราการชล อ.เมือง จ.นครนายก
- บ่อน้ำทิพย์ เมืองโบราณดงละคร อ.เมือง จ.นครนายก และ
- บึงพระอาจารย์ อ.เมือง จ.นครนายก
จังหวัดนครนายก มีกำหนดประกอบพิธีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดนครนายก เพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2562 ประกอบด้วย
- เขื่อนขุนด่านปราการชล ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. โดยมี นายบัญชา เชาวรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เป็นประธานในพิธีพลีกรรมตักน้ำ
- บึงพระอาจารย์ ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. โดยมี นายธนาคม จงจิระ. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพธีพลีกรรมตักน้ำสรงมุรธาภิเษก และ นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ. ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เป็นประธานในพิธีพลีกรรมตักน้ำอภิเษก
- บ่อน้ำทิพย์ ตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยมี. นางสาวปราณี นาคะนาท รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เป็นประธานในพิธีพลีกรรมตักน้ำ
ประธานในพิธี และเจ้าหน้าที่ผู้เชิญขันน้ำสาครและที่ตักน้ำไปยังรถขบวน รถเคลื่อนไปยัง พระอุโบสถ วัดอุดมธานี (พระอารามหลวง) ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เพื่อรอทำน้ำอภิเษกต่อไป
อนึ่ง ทั้งพิธีพลีกรรมตักน้ำ ในวันที่ 6 เม.ย.2562 และพิธีทำน้ำอภิเษก ในวันที่ 8-9 เม.ย.2562 ประชาชนสามารถเข้าร่วมพิธีได้โดยแต่ละจังหวัดจะจัดพื้นที่ให้ประชาชนร่วมพิธี และควรแต่งกายด้วยโทนสีเหลือง
พิธีพลีกรรมตักน้ำ
พิธีพลีกรรมตักน้ำ เป็นพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อขออนุญาตเทวดาที่ปกปักรักษาแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ตักน้ำมาทำน้ำอภิเษก และน้ำสรงมุรธาภิเษก ตามความเชื่อว่า สิ่งต่างๆ บนโลกล้วนมีเทวดาปกป้องรักษา การจะทำสิ่งใดๆ จำเป็นต้องขออนุญาตเทวดาที่ดูแลรักษาสิ่งนั้นๆ ทั้งนี้ น้ำอภิเษก จะตักมาจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ 107 แหล่งน้ำทั้ง 76 จังหวัด และน้ำศักดิ์สิทธิ์จากหอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง จำนวน 1 แหล่งน้ำ
พิธีพลีกรรมตักน้ำ มีภาชนะและอุปกรณ์สำคัญๆ ในพิธี โดยทั้ง 76 จังหวัด ต้องมอบหมายเจ้าหน้าที่เดินทางมารับ ณ กระทรวงมหาดไทย เพื่อนำไปใช้ในประกอบพิธี พร้อมกันทั้งประเทศในวันที่ 6 เมษายน 2562 ฤกษ์เวลา 10.09-12.00 น. อันประกอบด้วย
- ขันน้ำสาคร เป็นขันทองเหลืองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว มีหูจับเป็นหัวสิงห์ พร้อมฝาปิด พร้อมยิงเลเซอร์ตรากระทรวงมหาดไทยขนาด 4 นิ้ว โดยขันน้ำสาครบรรจุน้ำได้ 5 ลิตร มีน้ำหนัก 4.8 กิโลกรัม เป็นภาชนะใช้บรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ 107 แหล่งของทั้ง 76 จังหวัด เพื่อทำ น้ำอภิเษก และบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแหล่งน้ำ 9 แหล่งเพื่อทำน้ำมุรธาภิเษก หลังจากทำพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ปริมาณร้อยละ 80 ของขันน้ำสาครตามฤกษ์เวลาใส่ในขันน้ำสาคร จากนั้นปิดฝาขันน้ำสาคร ห่อด้วยผ้าขาว ผูกริบบิ้นสีขาว นำไปเก็บ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญของแต่ละ 76 จังหวัด เพื่อรอทำ "พิธีทำน้ำอภิเษก" พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 8 เม.ย. 2562 เวลาฤกษ์ 17.10-22.00 น.
- ที่ตักน้ำทองเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว พร้อมด้ามจับยาว 6 นิ้ว
- คนโทน้ำอภิเษก พร้อมกล่องใช้บรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ผ่าน "พิธีทำน้ำอภิเษก" เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2562
โดยในวันที่ 9 เม.ย. 2562 ทั้ง 76 จังหวัด จัดพิธีตักน้ำอภิเษกจาก "ขันน้ำสาคร" ใส่คนโทตามจำนวนที่กำหนด (ปริมาณถึงคอของคนโท) ปิดฝาให้สนิท โดยเวลาฤกษ์ 10.00 น ดับเทียนชัย และฤกษ์เวลา 12.00 น. เวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษก ตามกำหนดพร้อมกันทั่วประเทศ
อนึ่ง ทั้งพิธีพลีกรรมตักน้ำ ในวันที่ 6 เม.ย.2562 และพิธีทำน้ำอภิเษก ในวันที่ 8-9 เม.ย.2562 ประชาชนสามารถเข้าร่วมพิธีได้โดยแต่ละจังหวัดจะจัดพื้นที่ให้ประชาชนร่วมพิธี และควรแต่งกายด้วยโทนสีเหลือง
หลังจากพิธีทำน้ำอภิเษกแล้ว. ผู้ว่าราชการจังหวัดจะเชิญ "คนโทน้ำอภิเษก" ของจังหวัด เดินทางด้วยรถประจำตำแหน่งผู้ว่าฯ ส่งมอบมาเก็บไว้ ณ ห้องดอกแก้ว ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทยในวันที่ 10 เม.ย. 2562 ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ส่วน กทม. จะทำพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ในวันที่ 12 เม.ย. 2562 ฤกษ์เวลา 14.09 น.ที่หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง และะบรรจุน้ำลงคนโทน้ำศักดิ์สิทธิ์ทันที ไม่ต้องมีพิธีทำน้ำอภิเษก แล้วแห่เชิญมาเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพิธีพลีกรรมตักน้ำในหลวง ร.10น้ำศักดิ์สิทธิ์ 108 แหล่งคนโทน้ำบรมราชาภิเษก"คนโทน้ำอภิเษก" มีทั้งสิ้น 86 ใบ เป็น น้ำอภิเษก ของ 76 จังหวัด และ กทม. รวม 77 คนโท และ "น้ำมุรธาภิเษก" จำนวน 9 คนโท จากนั้นในวันที่ 18 เม.ย. 2562 เวลา 07.00 น. จัดริ้วขบวนแห่เชิญคนโทน้ำอภิเษก 86 ใบ จาก กระทรวงมหาดไทยไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม ระยทาง 740 เมตร
และฤกษ์เวลา 17.19-21.30 น.จัดทำ "พิธีเสกน้ำอภิเษกรวม" โดยสมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ และนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฝ่ายฆราวาส รุ่งขึ้นในวันที่ 19 เม.ย. 2562 เวลา 07.30 น. ริ้วขบวนแห่คนโทน้ำอภิเษก 86 ใบ จากวัดสุทัศนเทพวราราม ไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
"คนโทน้ำอภิเษก" ทั้ง 86 ใบ มีความสูงเฉลี่ยจากฐานถึงยอด 40 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ปากคนโทกว้าง 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 13 เซนติเมตร น้ำหนัก 2.5 กิโลกรัม สามารถบรรจุน้ำได้ 4.5 ลิตร เป็นคนโทเซรามิก มีลวดลายกระจังเป็นลายน้ำทอง เคลือบสีขาวทั้งใบ โดยด้านหน้าจะมีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 ส่วนด้านหลังจะมีภาพเครื่องหมายราชการแต่ละจังหวัด ขนาด 7 เซนติเมตร
4. เทียนชัย เทียนชัย 1 เล่ม หนัก 80 บาท ไส้ 108 เส้น สูงเท่าความสูงของประธาน
5. เทียนมหามงคล เทียนมงคล 1 เล่ม หนัก 10 บาท ไส้เกินกว่าอายุประธาน หรือเจ้าภาพ 1 เส้น สูงเท่าวงรอบศีรษะ
6. เทียนพุทธาภิเษก
เทียนพุทธาภิเษก 2 เล่ม หนักเล่มละ 32 บาท ไส้ 56 เส้น สูงประมาณกึ่งหนึ่งของเทียนชัย
ใน "พิธีทำน้ำอภิเษก" วันที่ 8 เม.ย. 2562 เวลา 17.00 น. หลังประธานสงฆ์ประกาศชุมนุมเทวดา จะเจิมเทียนชัย เทียนมหามงคล และเทียนพุทธาภิเษก ฤกษ์เวลา 17.10 น. ประธานสงฆ์จุดเทียนชัย และเทียนพุทธาภิเษก โดยมีพระสงฆ์ 30 รูป เจริญพระพุทธมนต์คาถาจุดเทียนชัย เจ้าหน้าที่ประโคมฆ้องชัย และวงดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์
นอกจากนี้ใน พิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 6 เม.ย. 2562 นี้ ยังมี 13 เครื่องประกอบพิธีกรรม ซึ่งทั้ง 76 จังหวัดต้องจัดเตรียม อันประกอบด้วย
- เทียน 2 เล่ม ธูป 16 ดอก
- บายศรีปากชาม 1 ที่
- กล้วยน้ำไท 1 หวี หรือกล้วยน้ำว้า หรือกล้วยไข่
- มะพร้าวอ่อนปอกเปลือก 1 ผล
- ขนมต้มแดง 1 จาน
- ขนมต้มขาว 1 จาน
- เผือกต้ม 1 จาน
- มันต้ม 1 จาน
- ผลไม้ 5 ชนิด
- ขนมหวาน 5 ชนิด
- นมเนย
- ข้าวตอกดอกไม้
- โต๊ะปูผ้าขาววางเครื่องสังเวย
และมีผลไม้ 15 ชนิดที่ไม่ควรนำมาบูชาฤกษ์ คือ ละมุด มังคุด พุทรา มะเฟือง มะไฟ น้อยหน่า น้อยโหน่ง มะตูม มะขวิด ลูกจาก ลูกพลับ ลูกท้อ ระกำ กระท้อน และลางสาด
หลังประกอบ "พิธีพลีกรรมตักน้ำ" เสร็จสิ้น ขันน้ำสาครพร้อมที่ตัก แต่ละจังหวัดจะนำไปเก็บไว้ในสถานที่เหมาะสม ส่วน "คนโทน้ำอภิเษก" น้อมถวายสำนักพระราชวัง ทั้งนี้ "พิธีพลีกรรมตักน้ำ" ในวันที่ 6 เม.ย. 2562 และ "พิธีทำน้ำอภิเษก" ในวันที่ 8-9 เม.ย. 2562 ประชาชนสาสามารถเข้าร่วมพิธีได้ และควรแต่งกายด้วยโทนสีเหลือง ซึ่งแต่ละจังหวัดจัดพื้นที่ให้