เรื่อง : ชะลอความแก่ ด้วยการกินผักพื้นบ้าน

      ผู้ส่งข่าว : นายไชยยันต์ พงศะบุตร

      ประชาสัมพันธ์ เมื่อ : 20190904 เวลา : 0:43:44      มีผู้อ่านข่าวประชาสัมพันธ์นี้แล้ว   2915   ครั้ง




      รายละเอียด :
ชะลอความแก่ ด้วยการกินผักพื้นบ้าน



          พืชผักเป็นส่วนที่ช่วยเสริมสร้างร่างกายของเราให้มีความแข็งแรง ช่วยป้องกันรักษาโรคต่างๆของเราได้ ยิ่งถ้าเป็นผักพื้นบ้านก็จะยิ่งมีประโยชน์เพราะเป็นสมุนไพรที่อยู่ใกล้ตัวเรา สามารถหาได้ง่ายๆตามริมรั้ว หรือจากที่เราปลูกเอาไว้โดยที่เราไม่ต้องเสียเงินซื้อและจะช่วยบำรุงสมอง ต้านความจำเสื่อม ชะลอความแก่ ดังนี้




1. ผักกูด: ส่วนใหญ่นิยมกินยอดและใบอ่อนผักกูดน้ำไม่นิยมกินสด มักเอา ไปต้มหรือเอาไปลวก นอกจากกินเป็นผักแนม ผักกูดน้ำยังใช้ ต้ม ยำ ทำแกงหรือผัดกับน้ำมันเฉยๆเคล็ดลับการทำแกงส้มผักกูดควรใส่ปลาช่อนถึงจะเข้ากันได้ดี ผักกูดที่อร่อยต้องกินหน้าแล้งเพราะรสชาติไม่ฝาดเหมือนในฤดูอื่นๆ ซึ่งจะให้รสชาติจืดอมหวานเนื้อกรอบ




           2. ใบชะพลู: เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบดกหนามีชื่อเรียกแตกต่างๆ กัน ภาคเหนือเรียกว่าผักแคผักปูนา พลูนก พลูลิง ภาคใต้เรียกว่าผักนมวาอีสานเรียกว่าผักอีเลิด ผักเล็ก ผักปูลม มีกลิ่นหอมรสเผ็ดอ่อน ๆ เป็นผักสดที่นิยมกินกับอาหารรสเผ็ด เช่น ลาบ น้ำตก ปลาย่าง รวมถึงน้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นเครื่องปรุงที่เสริมรสอาหารได้ดี เช่น แกงแคของภาคเหนือ ส่วนภาคอีสานนิยมใส่ในแกงอ่อมต่าง ๆ แกงขนุนอ่อน แกงหัวปลี ภาคใต้ใช้แกงกะทิใส่ใบชะพลูกับหอยแครง ส่วนภาคกลางนิยมใส่แกงคั่วหอยขม หรือกินกับข้าวมันส้มตำ และที่นิยมมากที่สุดคือกินเป็นใบห่อเมี่ยงคำที่ให้รสชาติเข้ากันอย่างดี


              3. ผักหวาน: มีรสชาติหวานสมชื่อ นิยมนำไปนึ่งแล้วจิ้มกับน้ำพริกแจ่วสารพัดชนิด นอกจากนี้ยังใช้ทำแกงได้ คนอีสานนิยมนำไปแกงใส่ใข่มดแดงอันเป็นอาหารขึ้นชื่อยอดฮิต หรือแกงใส่ปลาย่างผสมใบชะอม ทำเป็นแกงอ่อมก็อร่อยดีนะคะทางเหนือนิยมแกงผักหวานใส่ปลาย่างกับวุ้นเส้นส่วนคนกรุงยังนำผักหวานไปผัดกับน้ำมันร้อน ๆปรุงด้วยซีอิ๊ว เหยาะเกลือนิดก็อร่อยค่ะ


            4. ใบบัวบก: คนไทยทุกภาคนิยมกินใบบัวบกแต่ชื่อที่เรียกจะแตกต่างกันไป ภาคเหนือและอีสานเรียก ผักหนอก ภาคใต้เรียกผักแว่น ใบบัวบก นั้นมีรสขมอ่อนๆ กลิ่นหอมและเป็นพืชที่กินสด ๆ ได้ทั้งก้านและใบ จึงเป็นผักแกล้มอาหารรสเข้มข้นจานต่าง ๆ ได้อร่อย เช่น แกล้มน้ำพริก ส้มตำ และอาหารจานเดี่ยว เช่น หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย นอกจากนี้ยังใส่ในแกงเผ็ดและยำ ทำให้รสชาติอาหารอร่อยขึ้น นอกจากทำอาหารแล้วบัวบกยังนำมาคั้น ผสมน้ำตาลเล็กน้อย เป็นน้ำสมุนไพรดื่ม ให้รสหวาน หอม เย็นชุ่มคอ บัวบกช่วยระบายความร้อน แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง แก้ไมเกรน ชาวจีนเชื่อว่า บัวบกแก้ช้ำใน ทำให้เลือดกระจาย หายฟกช้ำเร็วขึ้น



               5. ผักปลัง: ชาวเหนือเรียกผักปั๋ง กินอร่อยได้ทั้งยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกอ่อน กินเป็นผักต้มลวกหรือนึ่งสุก จิ้มน้ำพริก ชาวเหนือนิยมกินกับน้ำพริกดำ น้ำพริกตาแดง เอาไปแกงกับถั่วเน่าชาวเหนือกับอีสานเอายอดอ่อนกับดอกอ่อนไปแกงส้ม เคล็ดลับความอร่อย ควรใส่ผักปลังลงในหม้อเป็นสิ่งสุดท้าย หลังจากน้ำแกงเดือดเต็มที่ และควรกดให้จม พอเดือดสักพักแล้วจึงปิดไฟไม่ควรรอให้เดือดนาน เพราะจะทำให้ผักปลังเละไม่น่ากิน ชาวเมืองกรุงทำเป็นผัดผักไฟแดงหรือผัดน้ำมันหอย นอกจากนี้ผักปลังช่วยในการระบาย จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องของการขับถ่ายค่ะ



             6. ไหลบัว: เป็นหน่ออ่อนของต้นดอกบัวหลวงที่ยังไม่โผล่พ้นน้ำ ซึ่งต่างจากสายบัวที่เป็นส่วนก้านดอกของบัวสาย ไหลบัวมีความกรอบและรสชาติหวานมัน จึงนิยมนำมากินสด คนอีสานนิยมกินเป็นผักสดกับส้มตำ แต่คนภาคกลางนิยมนำไปแกงส้ม ผัด หรือไม่ก็นำมากินสด ๆ ปัจจุบันไหลบัวผัดกุ้งเป็นเมนูยอดนิยมในภัตตาคารจีน



             7. ผักแพว: เป็นผักพื้นบ้านที่ดั้งเดิมนิยมรับประทานในกลุ่มคนภาคเหนือ และอีสาน แต่ปัจจุบัน เริ่มนิยมรับประทานเพิ่มขึ้นมากในทุกภาค เนื่องจาก เป็นผักที่ให้รสเผ็ดร้อนคล้ายข่า โดยเฉพาะคนในภาคอีสาน และภาคเหนือ นิยมใช้รับประทานเป็นผักคู่กับอาหารจำพวกลาบ หรือ ซุปหน่อไม้ รวมถึงน้ำพริก และอาหารจำพวกต้ม ซึ่งสามารถดับกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดี ส่วนภาคใต้นิยมใช้สอยใส่ข้าวยำ และรับประทานเป็นผักสดคู่กับอาหารพื้นบ้าน


           8. ใบยอ: มีรสชาติขม และกลิ่นเฉพาะตัว แต่มีบทบาทอย่างมากในอาหารไทยทั่วทุกภาคที่เด่นสุดคือ ภาคกลางใช้เป็นผักรองกระทงห่อหมก เพราะความอร่อยของห่อหมกเข้ากันได้ดีกับใบยอ ส่วนภาคอีสานนำไปทำแกงอ่อมใบยอ และภาคใต้ก็มีแกงรสเด็ดไม่แพ้กัน คือแกงเผ็ดปลาใส่ขมิ้นใบยอ การกินใบยอให้อร่อยควรตัดเส้นกลางใบออกและลวกก่อนนำมาแกง จะช่วยลดความขมได้



            9. ใบย่านาง: จัดเป็นพืชประจำครัวภาคเหนือและอีสาน ภาคเหนือเรียกว่า จ้อยนาง ครัวอีสานใช้ใบย่านางผสมกับข้าวเบือ (ข้าวสารที่ตำละเอียด ใช้ผสมกับน้ำแกงเพื่อให้น้ำแกงข้น) มาทำแกงหน่อไม้ไผ่ป่า เป็นลักษณะต้มเปอะ คือแกงที่มีน้ำขลุกขลิก ใบย่านางทำให้เกิดรสกลมกล่อมอมหวาน อีกทั้งเพื่อกลบรสขื่นและขมนิด ๆ ของหน่อไม้สด นอกจากนี้ยังผสมซุปหน่อไม้ ใส่แกงขี้เหล็กแบบพื้นบ้าน แกงกับยอดหวาย ภาคเหนือใส่ในแกงพื้นเมืองที่คล้ายกัน ใบย่านางที่นำมาใช้ในการทำอาหารนั้น ยิ่งใส่มากเท่าไร ยิ่งทำให้อาหารจานนั้น อร่อยยิ่งขึ้น



              10. ปลีกล้วย: ใช้ทำอาหารส่วนใหญ่เป็นปลีกล้วยน้ำว้า เพราะฝาดน้อยและหาง่ายกว่ากล้วยพันธุ์อื่น ๆหัวปลีสีแดงเมื่อแกะใบเลี้ยงออกจนถึงชั้นสีขาวนวล จะนำมาผ่าปลีตามยาวเป็นส่วน ๆ แล้วต้องนำไปแช่น้ำผสมน้ำมะขามเปียกหรือน้ำมะนาวก่อน เพื่อรักษาปลีกล้วยให้ขาวนวลน่ากิน อาหารไทยนิยมกินปลีกล้วยสดกับเต้าเจี้ยวหลน กะปิคั่ว ผัดไทย ชุบแป้งทอด ปรุงเป็นแกงเลียง หัวปลีแก้โลหิตจาง ลดความดันโลหิต แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ที่สำคัญคือบำรุงน้ำนมในคุณแม่ลูกอ่อน



            11. เพกาหรือลิ้นฟ้า จัดเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำฝักอ่อน ยอดอ่อน และดอก มารับประทานคู่กับน้ำพริก หรืออาหารในเมนูซุปหน่อไม้ และลาบต่าง ๆ เนื่องจากเพกานั้นให้ความกรอบ นุ่ม และมีรสขมเล็กน้อย ทำให้เพิ่มรสชาติของอาหาร ช่วยกลบรสอาหารส่วนเกิน และให้คุณค่าทางสมุนไพรในการบรรเทา และรักษาโรคต่าง ๆ ได้ดี



             12. มันปู: ยอดมันปู จัดเป็นผักพื้นบ้านของไทยในภาคใต้ เป็นผักที่คุณค่ามหาศาล ที่นิยมกินกัน คือ ส่วนของยอด เรียกกันติดปากว่า ยอดมันปู หรือ มันอียาง หรือนกนอนทะเล ยอดมีรสชาติมัน และฝาดเล็กน้อย ชาวใต้นิยมใช้เป็นผักสดกินกับน้ำพริก หรือใช้เป็นเครื่องเคียงแกงเผ็ดและขนมจีน ส่วนที่นำมาใช้คือใบและยอดอ่อน



            13. ยอดมะม่วงหิมพานต์: จัดเป็นผักพื้นบ้านของไทยในภาคใต้ เป็นผักที่คุณค่ามหาศาล ชาวใต้รับประทานยอดอ่อนและใบอ่อนสดเป็น"ผักเหนาะ" ร่วมกับน้ำพริก แกงเผ็ดขนมจีนน้ำยาเช่นเดียวกับชาวอิสานที่นำยอดอ่อนและใบอ่อนสดรับประทานกับลาบก้อยป่นปลาและน้ำพริกส่วนเมล็ดนิยมทำให้สุกก่อนโดยการเผาไฟหรือคั่ว นำไปผัดหรือยำร่วมกับอาหารอ่อน หรือรับประทานเป็นของว่าง

พืชผักเป็นส่วนที่ช่วยเสริมสร้างร่างกายของเราให้มีความแข็งแรง ช่วยป้องกันรักษาโรคต่างๆของเราได้ ยิ่งถ้าเป็นผักพื้นบ้านก็จะยิ่งมีประโยชน์ เพราะเป็นสมุนไพรที่อยู่ใกล้ตัวเรา สามารถหาได้ง่ายๆตามริมรั้ว หรือจากที่เราปลูกเอาไว้โดยที่เราไม่ต้องเสียเงินซื้อ ซึ่งจะมีผักพื้นบ้านอยู่ 10 ชนิดที่จะช่วยบำรุงสมอง ต้านความจำเสื่อม ชะลอความแก่ ดังนี้






1. ผักกูด

ผักกูดที่อร่อยต้องกินหน้าแล้งเพราะรสชาติไม่ฝาดเหมือนในฤดูอื่นๆ ซึ่งจะมีรสชาติจืดอมหวานเนื้อกรอบ ส่วนใหญ่นิยมกินยอดและใบอ่อน ผักกูดน้ำไม่นิยมกินสด มักเอา ไปต้มหรือเอาไปลวก นอกจากกินเป็นผักแนม ผักกูดน้ำยังใช้ ต้ม ยำ ทำแกงหรือผัดกับน้ำมันเฉยๆ ก็อร่อยเหลือหลาย เคล็ดลับการทำแกงส้มผักกูดควรใส่ปลาช่อนถึง จะเข้ากันได้ดี






2. ใบชะพลู

ใบชะพลู เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบดกหนา มีชื่อเรียกแตกต่างๆกัน ภาคเหนือเรียกว่าผักแค ผักปูนา พลูนก พลูลิง ภาคใต้เรียกว่าผักนมวา อีสานเรียกว่าผักอีเลิด ผักเล็ก ผักปูลม มีกลิ่นหอม รสเผ็ดอ่อนๆ เป็นผักสดที่นิยมกินกับอาหารรสแซบ เช่น ลาบ น้ำตก ปลาย่าง รวมถึงน้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นเครื่องปรุงที่เสริมรสอาหารได้ดี เช่น แกงแคของภาคเหนือ ส่วนภาคอีสานนิยมใส่ในแกงอ่อมต่างๆ แกงขนุนอ่อน แกงหัวปลี ภาคใต้ใช้แกงกะทิใส่ใบชะพลูกับหอยแครง ส่วนภาคกลางนิยมใส่แกงคั่วหอยขม หรือกินกับข้าวมันส้มตำ และที่นิยมมากที่สุดคือกินเป็นใบห่อเมี่ยงคำที่ให้รสชาติเข้ากันอย่างดี กินแล้วช่วยบำรุงธาตุ ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ






3. ผักหวาน

ผักหวานมีรสชาติหวานสมชื่อ นิยมนำไปนึ่งแล้วจิ้มกับน้ำพริกแจ่วสารพัดชนิด นอกจากนี้ยังใช้ทำแกงได้ คนอีสานนิยมนำไปแกงใส่ใข่มดแดง อันเป็นอาหารขึ้นชื่อยอดฮิต หรือแกงใส่ปลาย่างผสมใบชะอม ทำเป็นแกงอ่อมก็อร่อยดี ทางเหนือนิยมแกงผักหวานใส่ปลาย่างกับวุ้นเส้น ส่วนคนกรุงยังนำผักหวานไปผัดกับน้ำมันร้อนๆ ปรุงด้วยซีอิ๊ว เหยาะเกลือนิดก็อร่อย





4. ใบบัวบก

              คนไทยทั่วทุกภาคนิยมกินใบบัวบก แต่ชื่อที่เรียกจะแตกต่างกันไป ภาคเหนือและอีสานเรียก ผักหนอก ภาคใต้เรียกผักแว่น ใบบัวบกมีรสขมอ่อนๆ กลิ่นหอมและเป็นพืชที่กินสดๆ ได้ทั้งก้านและใบ จึงเป็นผักแกล้มอาหารรสเข้มข้นจานต่างๆได้อร่อย เช่น แกล้มน้ำพริก ส้มตำ และอาหารจานเดี่ยว เช่น หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย นอกจากนี้ยังใส่ในแกงเผ็ดและยำ ทำให้รสชาติอาหารอร่อยขึ้น นอกจากทำอาหารแล้วบัวบกยังนำมาคั้น ผสมน้ำตาลเล็กน้อย เป็นน้ำสมุนไพรดื่มให้รสหวาน หอม เย็นชุ่มคอ บัวบกช่วยระบายความร้อน แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง แก้ไมเกรน ชาวจีนเชื่อว่า บัวบกแก้ช้ำใน ทำให้เลือดกระจาย หายฟกช้ำเร็วขึ้น







5. ผักปลัง

            ชาวเหนือเรียกผักปั๋ง กินอร่อยได้ทั้งยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกอ่อน กินเป็นผักต้ม ลวกหรือนึ่งสุก จิ้มน้ำพริก ชาวเหนือนิยมกินกับน้ำพริกดำ น้ำพริกตาแดง เอาไปแกงกับถั่วเน่า ชาวเหนือกับอีสานเอายอดอ่อนกับดอกอ่อนไปแกงส้ม เคล็ดลับความอร่อย ควรใส่ผักปลังลงในหม้อเป็นสิ่งสุดท้ายหลังจากน้ำแกงเดือดเต็มที่ เวลาใส่ผักลงไปควรกดให้จม พอเดือดสักพักก็ปิดไฟ ไม่ควรรอให้เดือดนาน เพราะจะทำให้ผักปลังเละไม่น่ากิน ชาวเมืองกรุงทำเป็นผัดผักไฟแดง หรือผัดน้ำมันหอย ผักปลังช่วยในการระบาย จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย





6. ไหลบัว

ไหลบัวคือหน่ออ่อนของต้นดอกบัวหลวงที่ยังไม่โผล่พ้นน้ำ ซึ่งต่างจากสายบัวที่เป็นส่วนก้านดอกของบัวสาย ไหลบัวมีความกรอบและรสชาติหวานมันจึงนิยมนำมากินสด คนอีสานนิยมกินเป็นผักสดกับส้มตำ แต่คนภาคกลางนิยมนำไปแกงส้ม ผัด หรือไม่ก็กินสดๆ ปัจจุบันเป็นไหลบัวผัดกุ้งเป็นเมนูยอดนิยมในภัตตาคารจีน ถือเป็นยาเย็น ช่วยบำรุงร่างกาย








7. ผักแพว

ผักแพวหรือที่คนอีสานเรียกว่าผักแพ้ว ผักพริกม้า ส่วนคนเหนือเรียกผักไผ่ ความอร่อยของผักแพวอยู่ที่กลิ่นหอมและรสร้อนแรง จึงนิยมกินเป็นผักสดแนมกับอาหารรสจัดแทบทุกชนิด และนำไปปรุงเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารประเภทลาบ และใส่แกงปลารสจัด เพื่อตัดกลิ่นคาวปลาพร้อมกับปรุงอาหารประเภทหอยเพื่อเสริมความหอม กินแล้วช่วยขับลมในกระเพาะดีนัก






8. ใบยอ

ใบยอมีรสชาติขม และกลิ่นเฉพาะตัว แต่มีบทบาทอย่างมากในอาหารไทยทั่วทุกภาค ที่เด่นสุดคือ ภาค กลางใช้เป็นผักรองกระทงห่อหมก เพราะความอร่อยของห่อหมกเข้ากันได้ดีกับใบยอ และยังไม่มีผักอื่นเข้ามาแข่งได้ ส่วนภาคอีสานนำไปทำแกงอ่อมใบยอ และภาคใต้ก็มีแกงรสเด็ดไม่แพ้กันคือ แกงเผ็ดปลาใส่ขมิ้นใบยอ การกินใบยอให้อร่อยควรตัดเส้นกลางใบออกและลวกก่อนนำมาแกง จะช่วยลดความขมได้ ใบยอช่วยบำรุงร่างกาย แก้ปวดท้อง ท้องร่วง





9. ย่านาง

จัดเป็นพืชประจำครัวภาคเหนือและอีสาน ภาคเหนือเรียกว่า จ้อยนาง ครัวอีสานใช้ใบย่านางผสมกับข้าวเบือ (ข้าวสารที่ตำละเอียด ใช้ผสมกับน้ำแกงเพื่อให้น้ำแกงข้น)มาทำแกงหน่อไม้ไผ่ป่า เป็นลักษณะต้มเปอะ คือแกงที่มีน้ำขลุกขลิก ใบย่านางทำให้เกิดรสกลมกล่อมอมหวาน อีกทั้งเพื่อกลบรสขื่นและขมนิดๆ ของหน่อไม้สด นอกจากนี้ยังผสมซุปหน่อไม้ ใส่แกงขี้เหล็กแบบพื้นบ้าน แกงกับยอดหวาย ภาคเหนือใส่ในแกงพื้นเมืองที่คล้ายกัน ใบย่านางที่นำมาใช้ในการทำอาหารนั้นยิ่งใส่มากเท่าไร ยิ่งทำให้อาหารจานนั้นอร่อยยิ่งขึ้น กินย่านางช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ได้






10. ปลีกล้วย

ปลีกล้วยที่ใช้ทำอาหารส่วนใหญ่เป็นปลีกล้วยน้ำว้า เพราะฝาดน้อยและหาง่ายกว่ากล้วยพันธุ์อื่นๆ หัวปลีสีแดงเมื่อแกะใบเลี้ยงออกจนถึงชั้นที่มีสีขาวนวล จะนำมาผ่าปลีตามยาวเป็นส่วนๆ แล้ว ต้องนำไปแช่น้ำผสมน้ำมะขามเปียกหรือน้ำมะนาวก่อน เพื่อรักษาปลีกล้วยให้ขาวนวลน่ากิน อาหารไทยนิยมกินปลีกล้วยสดกับเต้าเจี้ยวหลน กะปิคั่ว ผัดไทย ชุบแป้งทอด ปรุงเป็นแกงเลียง หัวปลีแก้โลหิตจาง ลดความดันโลหิต แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ที่สำคัญคือบำรุงน้ำนมในคุณแม่ลูกอ่อน

 

 

 


มีผู้อ่านข่าวแล้วจำนวน       ราย